คงต้องมารบกวนอีกแล้วครับผม.....ก่อนอื่นต้องขออณุญาติลงรูปนี้ประกอปคู่คำถามนะครับ(รูปพระเอกในดวงใจผมนี่ล่ะ)แล้วผมก็มีรูปTree
Aloesอญุ่รูปเดียวนี่ล่ะ
ฮ่าๆ...ขออณุญาติคุณป้องด้วยแล้วกัน
พอดีได้มีโอกาสสนทนากับเพื่อนท่านนึงทางโทรศัพย์ รู้สึกสนใจมากๆ
เมื่อก่อนก็แค่มองผ่านตา
ตอนนี้อยากขอรบกวนทราบข้อมูลเบื้องต้นประกอบความรู้หน่อยครับผม ดังนี้
- Tree Aloes โดยทั่วไปมีการแบ่งกลุ่มมั้ยครับ ว่า
มีอยู่กี่วงศ์ หรือ มีแค่กลุ่มเดียวเรียกรวมๆว่า กลุ่ม Tree Aloes
- เป็นไม้หวงห้ามอยู่ในระดับใดของ"ไซเตส"ครับ
หรือว่า ทุกๆตัวที่เป็น Tree Aloes
- การเลี้ยงดู อยู่ในบ้านเราต้องปรับเปลี่ยน
ดินปลูกหรือไม่ และนิยมปลูกเลี้ยงแบบไหนครับผม
- พันธ์ต่างๆที่จำหน่ายในบ้านเรา โดยมากมีหลากหลายสายพันธ์แค่ไหน
และส่วนใหญ่จำหน่ายที่ขนาดไซ้ร์เท่าไหร่ครับผม และจะหาได้อย่างไร
- และข้อสุดท้าย ที่ไม่ถามไม่ได้ครับ
แฮ่ๆ....สานพันธ์ไหน ที่นิยมปลูกเลี้ยง และหายากไหม
ปล. ขอรบมากหน่อยครับ เพราะผมไม่มีความรู้เลย
"เหมือนงมเข็มในห้วงอวกาศ"ก็ไม่ปาน.... ขอบพระคุณล่สวงหน้า
ในความกรุณาทุกๆคำตอบ ที่ช่วยเหลือตอบให้ครับผม ด้วยความเคารพยิ่งครับ/ไกด์ครับ
โดย อดิศักดิ์/ไกด์ครับ [26
ก.ย. 2550 , 15:35:52 น.]
ข้อความ 1
ขอตอบดังนี้น่ะครับ คุณไกด์
ไม้อวบน้ำสกุล Aloe นั้นมีอยู่ราวๆ
400 กว่าชนิด
ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาและเกาะมาด่กัสการ์
รวมทั้งแถบประเทศตะวันออกกลาง
แถวชายฝั่งคาบสมุทรอาระเบีย
Aloe ส่วนใหญ่จะเป้นไม้พุ่มเล็ก ไม่ค่อยมีลำต้นสูงใหญ่
ก็ลักษณะเป็นอย่างที่เรามีเลี้ยงกันนั่นแหละครับ
แต่ก็มี Aloe บางชนิดที่มีขนาดลำต้นสูงใหญ่ได้มากจนเหมือนต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ๆ
แต่ทว่าไม่มีเนื้อไม้แข็ง
เป็นเพียงเนื้อเยื่ออวบน้ำ เราจึงเรียก Aloe กลุ่มนี้ว่าเป็นTree
Aloe
ซึ่งก็จะมีชนิดที่โดดเด่น
ได้รับการกล่าวขานถึงว่าเป็นราชาแห่ง Aloe เลยก็คือ Aloe dichotoma ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตแอฟริกาใต้แถวประเทศนามีเบีย
นี่เป็นรูปจากเวบ
ที่เค้าถ่ายมาจากถิ่นกำเนิดของเจ้า Aloe dichotoma ครับ
Aloe dichotoma
อันนี้ที่เค้ามาปลูกที่ในโรงเรือนไม้ทนแล้ง
ที่สวนพฤกษศาสตร์ Kirstenbosch ที่เมืองเคบทาวน์ ในแอฟริกาใต้
ยังมีชนิดที่เป็น Tree Aloe อีกบางชนิด
ที่หายากและน่าสนใจก็เช่น Aloe pillansii ที่อยู่ในเขตตอนกลางของแอฟริกาใต้ครับ
อย่างที่บอกไว้ว่าชนิดที่มีลำต้นสูงใหญ่และแตกกิ่งก้านแลดูแบบต้นไม้ใหญ่มีไม่กี่ชนิด
นอกเหนือจากเจ้า A. dichotoma และเจ้า
A. pillansii แล้วก็มี A. barberae (ชื่อพ้อง
หรือตัวเดียวกันกับเจ้า A. bainesii)
นี่ต้นยังโตไม่เต็มที่ของเจ้า A.
barberae ปลูกอยู่ในรีสอร์ตที่ผมไปพักตอนไปท่องซาฟารีดู Big
Five ที่แอฟริกาใต้
A. barberae
นอกนั้นก็จะเป็นชนิดที่มีขนาดไม่สูงใหญ่รองๆ
ลงมา คือเป็นเพียงไม้พุ่มมากกว่าจะเรียกว่า Tree Aloe ได้เต็มปาก
พวกที่ว่าก็อย่างเช่น A. arborescens ต้นนี้ครับ
A. arborescens
หรืออย่างเจ้า A. plicatilis ใบเป็นพัด
แต่เจ้านี่ชอบอากาศเย็นๆ ปลุกกรุงเทพฯไม่ค่อยจะอยู่ ไม่แน่คุณไกด์อาจปลูกได้
A. plicatilis
หรืออย่างต้นนี้ เป็น Aloe ชนิดเฉพาะถิ่นบนยอดเขา
Table Mountain ที่ผมขึ้นกระเช้าลอยฟ้าในเมืองเคปทาว์นไปเก็บต้น...เอ้ยภาพมา
นอกนั้นก็จะมีพวกที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ แต่มี trunk
สูงขึ้นไปได้สามสี่เมตรแบบรุปแรกที่คุณไกด์นำมาลงไว้
พวกที่ว่านี้ก็เช่น A.ferox, A. exelsa,
A.marlothii แล้วก็มีอีกบางชนิดที่ผมไปเห็นที่ตอนไปมาดากัสการ์
ก็เป็นต้นสูงกว่าคนด้วยแต่ไม่รู้เหมือนกันว่าชนิดไหนบ้าง
อย่างนี่เจ้า A. marlothii ที่ผมไปชมในอุทยานครูเกอร์พาร์ค
แอฟริกาใต้ ต้นเฉลี่ยสูงประมาณสามเมตรได้
A. marlothii
อุ้ย สายแล้ว ต้องไปทำงานก่อน
ไว้มาคุยต่อน่ะครับ...
โดย ป้อง [27
ก.ย. 2550 , 08:13:44 น.]
ข้อความ 4
ของผมมันมี Tree aloe อยู่ต้นนึงครับที่หนามมันแดงๆ
ผมไม่มีรูปให้ดูนะครับเพราะผมนำออกไปขายหน้าร้านก็มีลูกค้ามาสอยไปหมด
ผมก็ไม่รู้นะครับว่าจะเรียกTree aloeได้ไหม
แต่ต้นแม่มันสูงราว1.50เมตร เลยครับ มันไม่แตกหน่อนะครับ
ต้องเพาะเมล็ดอย่างเดียว
โดย ต้น(ton) [27
ก.ย. 2550 , 10:19:46 น.]
ข้อความ 5
ในข้อสอบถามที่ว่าเป็นไม้หวงห้ามอยู่ในระดับใดของ"ไซเตส"
หรือว่า ทุกๆตัวที่เป็น Tree Aloes ?
ตอบว่า Aloe พันธุ์แท้ทุกตัวอยู่ใน
CITES II ซึ่งสามารถครอบครอง
หรือซื้อขายระหว่างประเทศได้
โดยมีการควบคุมหรือขออนุญาติส่งออก
นำเข้าอย่างถูกต้อง
แต่จะมีประมาณ ราวๆ 10
กว่าชนิดที่อยู่ใน CITES I ที่ห้ามนำเข้า ส่งออกระหว่างประเทศ
ซึ่งในจำนวนนั้นส่วนใหญ่เป็นพวก Aloe พันธุ์เล็กๆ อย่าง Aloe
haworthioides ที่บ้านเราก็มีเลี้ยงกันอยู่นานแล้ว
หรืออย่าง Aloe polyphylla ที่เพิ่งนำรูปมาโชว์ตอนพาทัวร์
JJ สองพุธก่อนหน้านี้ ก็อยู่ CITES I
และก็มีเจ้า Tree Aloe อยู่ด้วยหนึ่งชนิด
คือ Aloe pillansii ที่เมื่อก่อนผมก็เคยมีแต่ทำเน่าไปแล้วเรียบร้อย
!
ในเรื่องการเลี้ยงดู
อยู่ในบ้านเราต้องปรับเปลี่ยน ดินปลูกหรือไม่ และนิยมปลูกเลี้ยงแบบไหนนั้น
โดยส่วนตัวต้องบอกว่าหากไม่สามารถควบคุมเรื่องความชื้น
การระบายน้ำในดินได้ ก็คงจะยากสำหรับเจ้า Aloe dichotoma ครับ
ผมเห็นต้นที่ปลูกจนต้นใหญ่สูงจนท่วมหัวได้
แล้วก็โคนเน่าตายเพราะตากฝนมานักต่อนักแล้ว
หากจะปลูกแบบลงดิน มีทางเดียวคือต้องยกเป็น bed
หรือกั้นคอกผสมดินปลูกเฉพาะให้โปร่งระบายน้ำอย่างดีจึงจะอยู่ได้
ไม่เช่นนั้นก็ต้องปลูกในกระถางใหญ่ๆ
ที่มีการปรุงดินแบบพิเศษครับ
ลองดูรูปในถิ่นกำเนิดข้างบนประกอบซิครับ
เป็นส่วนหนึ่งของขอบทะเลทรายนามีบที่มีแต่หิน แห้งแล้งมากๆ
แต่ถ้าเป็นเจ้า A. barberae ที่ดูเหมือนจะทนชื้นได้ดีกว่า
อาจจะพอปลูกลงดินตากแดดตากฝนในบ้านเราได้ครับ
ส่วนพวกยอดเดี๋ยวลำต้นเป็น Trunk เช่น
Aloe ferox, A.marlothii, A.exelsa
ผมเคยมอบต้นใหญ่ๆ
ไปปลูกไว้ที่สวนบอนไซดอยอ่างขางของโครงการหลวง ก็เห็นยังอยู่งอกงามดีมาก
และแม้แต่เพื่อนที่อยู่ปัตตานี ฝนตกชุกๆ
เคยปลูก A.ferox ไว้ ก็ต้นเติบโตจนต้องขุดไปให้คนอื่นครับ
ข้อซักกถามเรื่องพันธุ์ต่างๆที่จำหน่ายในบ้านเรา
โดยมากมีหลากหลายสายพันธ์แค่ไหน ขนาดไซ้ร์เท่าไหร่
ขอตอบว่า
เท่าที่เห็นในปัจจุบันก็จะมีหลายร้านที่สั่งเมล็ด A. dichotoma เข้ามาเพาะขายต้นเล็กๆ
สูงราวคืบ
สามารถซื้อได้จากหลายแหล่ง
เช่นร้านคุณอ้วนสวนผัก ที่มี Aloe พันธุ์ใหญ่ๆ ชนิดอื่นๆ ขายด้วย เช่น A.
marlothii
หรืออย่างร้านคุณสมภพ และ คุณมารุต ก็มี A.
barbarae ที่ขายอยู่ในชื่อ A. bainesii
และร้านคุณปราโมทย์ กับคุณเดียว
บางทีก็มีพวกนี้ไซส์โตๆ มาขายอยู่ด้วยเหมือนกันครับ
และคำถามสุดท้าย ....สายพันธุ์ไหน ที่นิยมปลูกเลี้ยง
และหายาก?
ก็คงต้องบอกว่า
แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลมั๊งครับ
แต่โดยส่วนใหญ่ถ้าจะยึดคอนเซ็บTree Aloe
ก็คงต้องบอกว่า Aloe dichotoma...ฟันธง
!
แต่ถ้าหากมีโอกาสเสาะหา A. pillansii มาได้หล่ะก็
ถือว่าได้สวมมงกุฎให้ collection เลยหล่ะครับ
ที่จริงก่อนหน้านี้
ร้านมุมไม้แปลกของคุณบีเคยมีมาขายเกือบสิบต้น แต่ก็หมดไปนานแล้ว
เป็นไม้เพาะเมล็ดที่มีคนหิ้วมาจากยุโรป
และนำเข้ามาเลี้ยงจนโตในบ้านเราสูงขนาดเข่า ใบฟ้าสวยสุดๆ
นี่รูปเจ้า A.pillansii ในธรรมชาติครับ
พวกนี้มีชื่อเรียกว่า Quiver Tree Aloe
"Quiver" หมายถึงกระบอกใส่ลูกธนู
ก็เนื่องจากชนพื้นเมืองที่แอฟริกาใต้
จะเก็บเอาส่วนกิ่งแห้ง
ซึ่งข้างในกลวงมาทำเป็นกระบอกไว้ใส่ธนูไว้ล่าสัตว์ครับ
โทษที ไม่ทันดูคำถามของคุณต้น คงต้องเห็นรูปครับจึงจะพอออกความเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มไหน
แต่ฟังดูก็น่าสนใจดีน่ะครับ ถ้าเป็นใบหนาๆ
กว้างๆ หนามเยอะ แดงๆ รอบใบก็น่าจะกลุ่ม
A.ferox, A.marlothii หรือ A. exelsa และก็บางชนิดจากแทบมาดากัสการ์ก็มีลักษณะอย่างนี้บ้างเหมือนกันครับ
โดย ป้อง [27
ก.ย. 2550 , 12:06:32 น.]
ข้อความ 8
ขอบคุณ คุณป้องอย่างสุดซึ้งเลยครับ
ได้รับความรู้แบบเต็มๆเลยผม กระจ่างชัดเจนตรงประเด็นสุดๆ สุดยอดจริงๆครับ
และตลึงในรูปภาพมากๆครับ เดี๋ยวผมต้องเก็บกระทู้นี้เข้าแฟ้มไว้เลยครับ
ขอบพระคุณอย่างสูง ด้วยความเคารพยิ่ง/ไกด์ครับ
โดย อดิศักดิ์/ไกด์ครับ [27
ก.ย. 2550 , 17:44:01 น.]
จากกระทู้ 4165 ห้องสนทนา www.mycacti.com