มนุษย์อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่โชคดีที่สุดบนพิภพโลก
เพราะเราสามารถดื่มด่ำกับความงดงาม
ความมหัศจรรย์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติได้
นอกเหนือจากความต้องการพื้นฐานอย่างที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ
แสวงหา
หากแต่ขึ้นอยู่กับว่า
มนุษย์ผู้นั้นจะเลือกดื่มด่ำชื่นชมในสิ่งใด
ผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มองเห็นในคุณค่าของต้นไม้ในฐานะ
“ของวิเศษ”
ที่สามารถสร้างสรรค์ และบันดาลความสุข
ให้เกิดขึ้น
ทั้งต่อชีวิตตนเอง และคนรอบๆ ข้าง
ได้อย่างน่าอัศจรรย์
ซึ่งผมก็เชื่อว่าเพื่อนๆ
ทุกคนที่รักต้นไม้ ไม่ว่ามันจะเป็นต้นอะไร
ก็คงได้ค้นพบความสุขเฉกเช่นเดียวกับผม
ในโอกาสนี้
ผมอยากจะขอแนะนำตัวเองสักเล็กน้อยนะครับ
ผมชื่อ ชนินทร์ โถรัตน์ มีชื่อเล่นว่า “ป้อง”
หลายคนอาจจะรู้จักผมในฐานะ “คนในแวดวงหนังสือ”
โดยผมเขียนสารคดี และบทความต่างๆ
ทั้งเรื่องท่องเที่ยว
และเรื่องไม้ดอกไม้ประดับ
ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร และหนังสือต่างๆ
อย่างเช่น อนุสาร อสท, Advance
Thailand Geo., วิมาน,
บ้านและสวน, สารานุกรมไม้ประดับ
ฯลฯ
และปัจจุบันได้มาร่วมกันกับเพื่อนๆ
เปิดบริษัท
ผลิตนิตยสารท่องเที่ยว Nature
Explorer รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ
จึงอาจจะมีผลงานของผมผ่านตาเพื่อนๆ
มาบ้าง
ส่วนความสนใจในเรื่องต้นไม้นั้น
ผมเองก็เริ่มต้นมาจาก Cactus และ
Succulent
ตั้งแต่ผมยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม
จากนั้นก็ขยายความสนใจไปยังไม้ประดับหลากหลายประเภท
ทั้ง Bromeliad ปาล์ม
เฟิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโฮย่า
ที่ได้เคยสั่งพันธุ์เข้ามาจากต่างประเทศกว่าร้อยชนิด
และเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์
เผยแพร่ออกสู่ตลาดไม้ประดับในบ้านเรา
ส่วนเรื่องกล้วยไม้ไทยนั้น
ผมสนใจในด้านการศึกษาจำแนกชนิด
ซึ่งทำให้มีโอกาสได้ค้นพบและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
ให้แก่กล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย
อาทิเช่น สิงโตอาจารย์เต็ม (Bulbophyllum
smitinandii)
รวมทั้งค้นพบกล้วยไม้ที่เป็นรายงานใหม่สำหรับประเทศไทยอีกหลายชนิด
จากการเดินทางไปทำสารคดีในแหล่งธรรมชาติตามที่ต่างๆ
แต่ก็เหมือนผู้ที่โดนเสน่ห์ปลายหนามอีกหลายๆ
คน
ผมเองก็ไม่อาจถอนใจจาก Cactus และ
Succulent ไปได้
ซึ่งในที่สุดผมก็ต้องหวนกลับมาเล่น “
ไม้หนาม ” อีก
ทว่าคราวนี้ความสนใจได้ลงลึกและขยายวงกว้างไปยัง
Succulent ในกลุ่มต่างๆ
ที่เมื่อก่อนยังไม่ค่อยมีแพร่หลายในบ้านเรา
อันได้แก่
ไม้โขด (Fat Plant, Caudiciform ),
Aloe, Agave,
Yucca พันธุ์แปลกๆ และ Bromeliad ที่เป็นพวกไม้อวบน้ำ
เป็นต้น
และในการเดินทางไปถ่ายทำสารคดียังต่างแดนในหลายๆ
แห่ง
อย่างเช่นที่เกาะ Madagascar อันเป็นดินแดนถิ่นกำเนิดของเหล่าพรรณไม้แปลกๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาไม้อวบน้ำที่มีอยู่หลากหลายชนิดที่นั้น
ซึ่งผมได้มีโอกาสไปเห็นมา
ผมจึงอยากจะให้เพื่อนๆ สมาชิกใน Mycacti
รวมทั้งผู้สนใจท่านอื่นๆ ที่ชื่นชอบพรรณไม้ในแนวเดียวกันนี้
ได้มีโอกาสไปสัมผัสความมหัศจรรย์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับผม
โดยผมได้นำเสนอเรื่องราวการไปตะลุยเกาะมาดากัสการ์
ไว้ทั้งหมดสามตอน
เพื่อให้เพื่อนๆ ที่สนใจได้รับชมกันครับ
|
มาดากัสการ์ (
นักชีววิทยาต่างยกย่องให้เกาะมาดากัสการ์เป็นเสมือน เม็กกะ ของผู้หลงใหลธรรมชาติ โดยเฉพาะนักพฤกษศาสตร และนักเล่นต้นไม้อย่างพวกเรา
เพราะในบรรดาพืชพรรณกว่าหมื่นชนิดบนเกาะ ราว 80% เป็นพืชเฉพาะถิ่น ที่จะไม่พบที่อื่นใด
สำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของเกาะจะเป็นเขตแห้งแล้ง
มีป่าหนาม และแคนยอนซึ่งมีไม้อวบน้ำหลากหลายสกุลขึ้นอยู่
ยกตัวอย่างเช่น Pachypodium, Euphorbia, Aloe,
Alluaudia, Adenia และ Adansonia (Baobab) เป็นต้น
|
หรือ มะรุมยักษ์
ต้นนี้ยังเป็นแค่ต้นวัยรุ่น ปลูกอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์เมือง Tulear ที่ผมแวะเข้าไปดูปลา ซีลาแคนท์ (ฝักเยอะแยะเลยดูดิ!!)
|
|
ซากปลาซีลาแคนท์ ปลาดึกดำบรรพ์ ที่
เป็น living fossil ตัวนี้ถูกจับได้บริเวณ
ช่องแคบโมแซมบิก
|
Fat Plant ราคาแพงของวงการนักเล่นไม้โขด แต่ที่มาดากัสการ์มันขึ้นตามข้างถนนแบบเนี่ย!! เสียดายเม็ดมันยังไม้แก่เลยไม่ได้สอย อิ อิ..
|
Brevicaule ในตลาดที่เมือง Antanarivo เมืองหลวงของ
มาดากัสการ์กอเล็กๆ อย่างในภาพ คิดเป็นเงินไทยก็ราว 100 บาท ส่วนที่กอเท่าเขียงใหญ่ๆ ก็แค่ 800 บาท เออ...
ผมรู้น่าว่าคุณจะถามว่าอะไร...ขืนซื้อออกมาโดยไม่มี
|
โอยตาลาย กิเลสกระฉูด อยากซื้อ
อยากซื้อ
แต่ไม่กล้า(จริงๆ ให้ตายเหอะ)
ถ้าไม่สะใจดูรูปต่อไปด้วยครับ
|
Brevicaule ทั้งน้านนนนน..จะเหลือ
ในธรรมชาติสักเท่าไหร่ก็ไม่รู้นิ....
|
ข้างทางแถวตอนใต้ในมาดากัสการ์จะเจอ Fat
Plant แบบนี้ มันคือ Moringa มะรุมยักษ์ต้นใหญ่
|
|
Pachypodium geayi
Pachypodium geayi ที่เราปลูกกันต้นสูงไม่ถึงเมตร
แต่ลองดูต้นสูง 5 เมตรนี่ซิเป็นไง มันแตกกิ่งเต็มเลย
|
Alluaudia pocera
แม้ว่านี่จะเป็นภาพทั่วไปที่เราจะเห็นได้ไนพื้นที่ตอนใต้ที่แห้งแล้งของเกาะมาดากัสการ์
มันคือต้นใบตะแคง (Alluaudia
pocera) ไม้อวบน้ำชนิดหนึ่งที่มีปลูกกันในบ้านเรานานแล้ว
แต่โปรดดูภาพต่อไปครับ
|
นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำไม Succulents
หลายชนิดของเกาะมาดากัสการ์ที่เสนอขายกันอยู่ในตลาดโลก จึงราคแพงสุดๆ
บางต้นราคาเป็นร้อยๆเหรียญ
ก็เพราะถิ่นกำเนิดของมันถูกแผ้วถาง
ปลูกข้าวหรือป่านศรนารายณ์
ไม่ก็ทำที่เลี้ยงวัว จน Succulent
หลายชนิดสูญพันธุ์จากธรรมชาติ
|
Euphorbia tulearensis
Euphorbia tulearensis พบได้ในป่าแล้งตอนใต้ ที่ผม
ได้พยายามไปตามค้นหา มันเป็นตัวอย่างหนึ่งของยูโฟเบียชนิด
หายากที่คนนำมาปลูกเลี้ยงขยายพันธุ์จนไม่ต้องไปเก็บจาก
|
เจ้านี่ลูกกระติ๋วเท่าถั่วเเดง
เท่าที่ผมทราบ
ในเมืองไทย
คนที่มีต้นไม้หายากชนิดนี้ปลูกก่อนใครเพื่อนคือนักเล่นแคคตัส ไม้อวบน้ำมือฉกาจคนหนึ่ง
บ้านอยู่แถวๆลาดพร้าว
ต้นสูงเมตรกว่าๆได้
แต่โคนก็ยังไม่อ้วนเป็นโขด
ที่จริงมันมีOper. อีกชนิดที่หายากยิ่งกว่ามันคือ
O.pachypus
ชื่อวิทยาศาสตร์ก็แปลว่า "อ้วน"
ชนิดนี้จึงมีต้นอ้วนกลมเหมือนกระปุก
ใครเห็นรับรองต้องหลงรัก
ในเมืองไทยเพิ่งจะมีบางร้านสั่งเข้ามาเผยแพร่
|
Euphorbia bupleurifolia บอกเพื่อนๆ ท่านอื่นๆก่อนนะครับ ว่ามันไม้ใช่พรรณไม้ของมาดากัสการ์
แต่มาจากแอฟริกาใต้ ต้นนี้ดอกแยกเพศ
ต้องมีต้นคู่เพศผู้-เมียออกดอกมาพร้อมๆกันจึงจะติดเมล็ด
|
Isalo National Park
ได้เวลาพาทัวร์แดนใต้ของเกาะมาดากัสการ์กันต่อ
หลังจากผมออกจากเมือง
Tulear แล้วจุดหมายปลายทางต่อไปก็คืออุทยานแห่งชาตฺที่มีชื่อเสียงที่สุด
แห่งหนึ่งของมาดากัสการ์ นั่นคือ Isalo
National Park แต่ก่อนจะไปถึง
เราต้องผ่านแหล่งเหมืองพลอยที่ซึ่งคนไทยไปทำมาหากินกันเป็นจำนวนมาก
ทั้งไปเป็นเจ้าของเหมือง
หรือเข้าไปซื้อพลอยดิบออกมาขายที่เมืองไทย นั่น
คือเมืองSakaraha และ
Ilakaka ในภาพจะเห็นกระต๊อบเล็กๆ แต่เชื่อ
หรือไม่ มันคือบ้านของคนที่อยู่กันได้ 8-10
คนต่อหนึ่งหลัง!!! ส่วนใหญ่
ก็คือชาวบ้านที่ยากจนซึ่งเข้ามาทำงานรับจ้างขุดพลอยให้นายทุน
|
|
เนืองจากถนนหนทางที่นั่นโหดและทุรกันดานสุดๆ แต่ข้างทางอันแห้งแล้งก็ยังพอมีอะไรให้ชมบ้างอย่างเจ้า Pachy เดาว่าน่าจะเป็น meridionale ขึ้นประปรายตามข้างถนน
|
ส่วนพุ่มไม้หนามแบบนี้ก็ไม่ใช่ธรรมดา
แวะจอดรถเข้าไปยิงกระต่ายใกล้ๆก็จึงรู้ว่า
เป็น Alluaudia comosa ที่คุณเดียว
มีขายอยู่ที่ร้าน ต้นเล็กๆทรวดทรงเป็น
บอนไซกำลังน่าเลี้ยงนั่นเอง (เอเดียว เดี๋ยว
|
Alluaudia comosa
|
|
Alluaudia comosa ต้นใหญ่
อันที่จริงเราไม่ได้กะจะมาแวะที่เมือง Ampanihy
แต่เป็นเพราะตอนมาถึงสนามบินผมบังเอิญไปเจอ
โปสการ์ดขายอยู่ในร้านหนังสือ เป็นรูบต้นเบาบับยักษ์ ที่บรรยายไว้ด้วยภาษาฝรั่งเศสแปลได้ความว่า ...
ใหญ่สุดในแดนใต้ ...แล้วใครจะยอมพลาด
ว่าแล้ว
ผมก็วางแผนพาท่านปองพล นักการเมืองระดับบิ๊ก
ให้มาทุลักทุเลทัวร์เพียงเพื่อไปดูต้นไม้ต้นเดียว
|
|
เราวิ่งฝ่าความมืดมาหนึ่งคืน ฝุ่นดินแดงติดหัวหูหน้าตาจนดูคล้ายฝรั่ง
มาถึงเมือง Ampanihy ที่มีชื่อเสียงด้านงานหัตถกรรมพวกผ้าทอ
และเครื่องเงิน รวมทั้ง ทับทิมเม็ดงามๆ (นี่ถ้าคุณธาดา นักเล่นรุ่นคุณสมภพมาอ่านเจอคงหูผึ่ง เพราะเธอเป็นพ่อค้าพลอย)
ในภาพ
ผมไม่ได้สนใจพลอยที่ป้าแก่ๆเอามายื่นเสนอขาย แต่มัวไปสนใจหัวมันหัวเผือกพันธ์ท้องถิ่นที่วางขายในตลาดข้างทาง เผื่อว่าจะเป็น Caudex ที่น่าสนใจบ้าง
|
เราให้ไกด์ท้องถิ่นพาขับรถวนไปวนมาในป่าหนามตามถนนที่เหมือนทางเกวียนอยู่ร่มๆชั่วโมง จึงมาถึงจุดหมายที่ตั้งใจ แต่ก่อนจะได้เข้าไปชมเจ้าต้นเบาบับยักษ์ใกล้ๆ ก็ต้องฝ่าด่าน บรรดาเด็กๆชาวบ้านที่ออกมาเลี้ยงวัวแถวๆนั้น โดยพวกเขาเข้ามาขอขนม และอยากให้เราถ่ายรูปให้
|
และแล้วพวกเราก็ได้กลายเป็นคณะนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มแรก
ที่ได้มายืนแอ๊กท่าถ่ายรูปเบื้องหน้าต้นเบาบับยักษ์( Adansonia za)
มันเป็นต้นเบาบับที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต้นใหญ่เป็นอันดับสอง
ของเกาะมาดากัสการ์ (ที่ต้นอ้วนสุดเป็น A.digitata ของแอฟริกา แต่นำมาปลูกไว้ที่เมืองมาฮาจังกาอยู่ทางตอนเหนือของเกาะ
ส่วนอ้วนอันดับสาม แต่ถือว่าสูงใหญ่ที่สุดในโลกคือ A.gradidieri
อยู่ที่เมืองมูรุนดาฟทางฝั่งตะวันตก ซึ่งผมจะพาไปชมในภาค2)
เจ้าเบาบับ ซา ต้นนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 8 เมตร ต้องใช้ 20 คนโอบ
จึงจะรอบ ที่แปลกประหลาดคือลำต้นของเจ้าต้นนี้มันมีโพลงกลวง
ทะลุขึ้นไปที่เรือนยอด ผมมุดเข้าไปสำรวจดูเป็นห้องกวhางจุคนได้
เป็นสิบ และมีค้างคาวอาศัยอยู่หนึ่งฝูง!!
|
|
เป็นไข่ของนกบินไม่ได้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดนึงในโลกครับ มันมีชื่อว่า elephant bird หรือนกช้าง (Aepyornis maximus)
เพิ่งจะสูญพันธุ์ไปจากเกาะมาดากัสการ์ในช่วงที่มนุษย์กลุ่มแรกขึ้นเกาะนี้เมื่อราว1000-2000 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันยังคงมีการค้นพบซาก semi-fossil ของไข่นกชนิดนี้ในเขตป่าหนามทางตอนใต้ของเกาะ
จัดเป็นของหวงห้าม นักท่องเที่ยวไม่สามารถซื้อออกไปได้ ที่เห็นนี่เป็นไข่ที่แสดงอยู่ใน Museum ที่เมืองทูเลีย
|
ไข่ใบเล็กกับโครงกระดูกนกตัวข้างๆผมนั้นเป็นของนกกระจอกเทศในปัจจุบัน
เขาเอามาแสดงเทียบให้ดู ถ้าเป็นนกช้างตัวจริงจะสูงร่วมๆ 2-3 เมตร
หนักเกือบครึ่งตันทีเดียว...จะว่าไปเกาะนี้มีแต่อะไรยักษ์
|
นี่กลับมาสู่การผจญไพร! กันต่อดีกว่าครับ
หลังจากที่เราออกจากเมืองอัมปานีห์แล้วเราก็มุ่งลงใต้ เพื่อไปยังเขตอนุรักษ์ Berentyที่เป็นป่าหนามผืนใหญ่ที่สุดของเกาะ อย่างที่บอกไว้แต่แรกว่าป่าหนามนี้มีพันธุ์ไม้หลักเป็นพืชทนแล้งในวงศ์ Didiereaceae ขึ้นอยู่เป็นดง พืชวงศ์นี้มีอยู่ด้วยกันราว4สกุล 10 กว่าชนิด มีเฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ ในภาพคือ Didierea trollii
Adansonia fony (A.rubrostipa) ที่พบแถวภาคใต้ของเกาะ
|
|
มีเรื่องน่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่ง
เกี่ยวกับข้อสันนิษฐานที่ว่า
ก่อนที่เกาะมาดากัสการ์จะแยกตัวออกจากแผ่นทวีปแอฟริกา
ซึ่งเคยติดเป็นผืนเดียวกับอเมริกาใต้ ออสเตรเลียและเอเชียบางส่วนเมื่อหลายร้อยลานปีก่อนนั้น
อาจมีพืชที่เป็นบรรพบุรุษร่วมของพืชวงศ์กระบองเพชร
(Cactaceae)ติดมาอยู่บนเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ด้วย
และวิวัฒนาการมาเป็นเจ้าพวก Didierea แห่งป่าหนามนี่
ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ Prof. Werner Rauh นักพฤกษศาสตร์ชาว
เยอรมันที่ศึกษาและเขียนตำราพรรณไม้ใมาดากัสการ์
ได้ทำการทดลองโดยนำกิ่งของ Didierea
มาต่อกับตอแคคตัสสกุล Pereskiopsis ซึ่งเป็นแคคตัสโบราณ(สกุลที่ยังมีใบอยู่) ก็ได้ผลอย่างในภาพที่เห็น
นี่เป็นไม้ต่อข้ามวงศ์อายุ 3 เดือน |
|
ที่จริงก็ไม่ใช่ว่าไม้วงศ์แคคตัสจะมีอยู่เฉพาะในทวีปอเมริกาเท่านั้น
ได้มีการพบแคคตัส.oสกุล Rhipsalis ที่มีลักษณะเป็นไม้อากาศ(Epiphyte) ในป่าดิบของแอฟริกาและในมาดากัสการ์ด้วย 2-3 ชนิด
แต่นักพฤกษศาสตร์บางคนก็ให้ความเห็นแย้งว่าไม้อากาศเหล่านี้น่า จะกระจายพันธุ์มาขึ้นนอกทว๊ปอเมริกาโดยนกที่กินผลสุกแล้วอพยพย้ายถิ่นมา แต่ก็นั่นแหละผมสงสัยว่าทำไมแคคตัสชนิดอื่นนอกเหนือจากพวกไม้อากาศจึงไม่ติดออกมาด้วยวิธีนี้บ้าง ในภาพคือRhipsalis baccifera ที่พบแถวภาคตะวันออกของเกาะ
|
|
เป็นsucculent ชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่ตามพื้นป่าแล้ง
บริเวณปลายแหลม Cap Saintmarie ใช่แล้วหลายคนอาจเดาได้ว่ามันคือต้นอะไร นี่ครับคำเฉลย
|
ดูอันนี้ เห็นทั้งต้นเลย มีหัว Caudex ใหญ่ดี ...ปล่าวนะครับ
ผมไม่ได้ไปขุดมันออกมา แต่นี่เป็นภาพที่ผมหามา insert
แสดงให้เพื่อนๆ ได้รับอรรถรสในการชมกระทู้เพิ่มขึ้น อย่างภาพต้นไม้บางภาพในกระทู้นี้ ซึ่งผมเจอต้นจริงแต่ถ่ายภาพมา
ไม่ได้เรื่อง หรีอบางทีก็ได้แต่ดูเฉยๆ ก็จะหาสแกนภาพจากตำราที่มีอยู่มาประกอบด้วยครับ
|
นอกจาก Euph.capsaintmariensis แล้ว แถวๆที่แหลมปลายสุดด้านใต้ของเกาะยังเป็นแหล่งกำเนิดของEuph.francoisii ที่เป็น caudex plant ด้วยเช่นกัน
ผมไม้เจอต้นจริงเลยซักต้นเลยนำภาพต้นที่ผมปลูกไว้ที่บ้านมาให้ชมแทน ผมปลูกแบบโชว์โขด โดยให้ยอดเลื้อยตกกระถางลงมาในรูปแบบ bonsai ครับ
|
|
นอกจากนั้นแล้วทีนี่ยังเป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดย่อมที่รวบรวมพันธ์ไม้ทนแล้งของมาดากัสการ์เอาไว้ให้ผู้สนใจได้ศึกษาด้วย ผมไปติดใจเจ้ายูฟอร์เบียที่คล้ายๆโป๊ยเซียนแต่แตกกิ่งย่อยสั้นๆเป็นกระจุกรอบ
ลำต้นจนไปละม้ายกับพวกสกุล Didierea จึงได้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า E.didiereoides
|
|
ในตอนกลางคืนที่นี่เขามีการจัดทัวร์ไนท์ซาฟารีพาเดินเข้าไปตามเทลในป่าหนามเพื่อชมสัตว์แปลกๆ ที่จะออกมาหากินกลางคืน เช่น เมาส์ลีเมอร์ ที่ตัวเล็กจิ๋วเท่าหนู เราส่องไฟเจอมันไต่อยู่ตามหนามของต้น Alluaudia น่ารักมาก
จุดหมายปลายทางในการทัวร์ภาคใต้ของมาดากัสการ์กำลังจะไปจบลงที่เขตอนุรักษ์ของเอกชนที่มีชื่อเสียงที่สุดที่นั่น เนื่องจากเจ้าของเขตฯ ได้พยายามอนุรักษ์ผืนป่าหนามที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งสุดท้ายเอาไว้ โดยทำเป็นรีสอร์ทให้นักท่องเที่ยวเข้าไปพัก และเดินศึกษาธรรมชาติที่นั่น
รอบๆที่พักจะเป็นป่าหนามและป่าแล้งซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของเจ้าตัวลีเมอร์หางแหวน สัตว์ที่น่ารักอ่อนโยนน่าจับมาอุ้มกอดเล่น ตัวในภาพมันกำลังปีนหายอดอ่อนใบไม้กินเป็นอาหาร
นอกจากตัวลีเมอร์ที่มีให้ชม 5-6 ชนิดแล้ว ที่นี่ยังมีสัตว์เฉพาะถิ่นแปลกๆ เลี้ยงเอาไว้ให้ชมอีกหลายอย่าง ที่ผมชอบมากเป็นพิเศษคือเต่า รัศมีดารา(Radiata Tortoise)
ที่ลายกระดองสวยงามมากๆ